หัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผา เกาะเกร็ด ต้นกำเนิดมาจากการที่ชาวรามัญหรือชาวไทยเชื้อสายมอญได้อพยพโยกย้ายถิ่นฐานมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ตอนต้น อาศัยอยู่ที่เกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เครื่องปั้นดินเผาเกิดจากความต้องการที่ต้องการมีเครื่องมือเครื่องใช้ในการดำรงวิถีชีวิต และเดิมทีชาวบ้านส่วนใหญ่มีความชำนาญการปั้นเครื่องปั้นดินเผา โดยเริ่มแรกชาวบ้านได้เริ่มผลิตเครื่องปั้นดินเผาที่เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในครัวเรือนเช่น โอ่ง อ่าง กระถาง หม้อข้าว หม้อขนมครก และครก เดิมใช้เครื่องปั้นดินเผาสามารถเป็นสินค้าแลกเปลี่ยนหรือข้าวสารแทนได้ จนพัฒนาก่อตั้งเป็นโรงงานผลิตเครื่องปั้นดินเผาประกอบธุรกิจขนาดเล็ก และมีการทำในหลายๆครัวเรือนและได้สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น ในปัจจุบันเป็นรุ่นที่สืบทอดเป็นรุ่นที่ ๔ ย่างรุ่นที่ ๕
“หม้อน้ำลายวิจิตร” หรือที่ช่างปั้นเรียกกันว่า เนิ่ง ยังคงเป็นเครื่องปั้นที่คงลวดลายงดงาม ประณีต เครื่องปั้นมีสีแดงส้ม และเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ และมีการพัฒนาลวดลายมากขึ้น เพื่อให้มีความหลากหลาย เป็นที่ต้องการของตลาดและผู้บริโภค เนิ่งจะมีส่วนประกอบ ๓ ส่วน คือ ฝา ตัว และฐาน ลวดลายส่วนใหญ่จะปรากฏบริเวณฐาน คอ ตัว และฝา ความงดงามมีเอกลักษณ์เฉพาะของเครื่องปั้นดินเผา เกาะเกร็ดจึงเป็นเสน่ห์ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชม และเป็นงานศิลปะพื้นบ้านยกย่องที่สร้างชื่อให้แก่จังหวัดนนทบุรี และได้นำมาเป็นตราประจำจังหวัดนนทบุรี
การถ่ายทอดภูมิปัญญากรรมวิธีการปั้นเครื่องปั้นดินเผา ใช้วิธีการสอนสืบทอดรุ่นสู่รุ่น ปลูกฝังลูกหลานตั้งแต่ยังเยาว์วัย ซึ่งเป็นเครื่องมือทำมาหากินที่เป็นมรดกตกทอดสู่หลัง การปั้นเครื่องปั้นดินเผาสมัยใหม่มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ และมีการพัฒนาเครื่องปั้นหลากหลายรูปแบบเพื่อให้เหมาะกับสังคมปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การคิดสรรค์สร้างลวดลายที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของเครื่องปั้นดินเผา เกาะเกร็ด จะทำให้ช่วยให้ดึงดูดความสนใจให้ผู้หันมาชื่นชอบงานศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน ที่ยังคงรูปทรงที่มีเค้าดั้งเดิมและอนุรักษ์ศิลปะชิ้นนี้สืบต่อไป
^____^
แนวคิดในการเลือกข้อมูล
ในปัจจุบันนี้
เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาท
ในวงการอุตสาหกรรมเป็นอย่างมากไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมใด
แต่การทำเครื่องปั้นดินเผาในปัจจุบันนี้ได้มีโดยเฉพาะรูปแบบ
ที่พัฒนาไปตามเทคโนโลยีสมัยใหม่ทำให้เราทราบเรื่องราว
และประวัติเครื่องปั้นดินเผาในปัจจุบันเท่านั้น
ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาค้นคว้าประวัติความเป็นมา
ของเครื่องปั้นดินเผา
วัตถุประสงค์ของงาน
ค้นคว้าศึกษาเกี่ยวกับการทำเครื่องปั้นดินเผา
ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวเกาะเกร็ด
ศึกษาวิธีการปั้นวิธการทำวิธีการขึ้นรูปต่างๆมาเพื่อเผยแพร่ให้คนรุ่นต่อๆไปได้รู้และได้ไป
ศึกษากันต่อไป
ระยะเวลา
ระยะเวลาในการทำงาน เริ่มตั้งแต่คิดว่าจะทำเกี่ยวกับเรื่องอะไร
แล้วค่อยๆคิดว่าใช้เวลาเท่าไรในการออกพื้นที่ ไปสัมภาษณ์
ใช้เวลาประมาณ1เดือน ในการทำงานครั้งนี้
งบประมาณ
มีค่าใช้จ่ายในการเดินทางประมาน 300
และมีค่าใช้จ่ายในการทำเครื่องปั้นดินเผา
ออกมาในรูปแบบต่างๆ 50
วิธีการได้มาซึ่งข้อมูล
การเลือกแหล่งสารสนเทศ
เลือกจากแหล่งข้อมูลที่สามารถให้เราสัมภาษณ์ได้เต็มที่
สามารถตอบคำถามได้ทุกคำถามที่เราต้องการรู้
วิธีการรวบรวมสารสนเทศ
เก็บจากแหล่งข้อมูลที่เราไปสัมภาษณ์ด้วยวิธีบันทึกเป็นภาพ
เป็นวิดีโอ เป็นคลิปเสียง แล้วนำมารวบรวมลงบล็อก
ประเมิน และคัดลอกสารสนเทศมาใช้
ประเมินว่าที่เราสัมภาษณ์มาเป็นสิ่งที่สมบูรณ์แบบหรือยัง
ถ้ายังเราต้องกลั่นกลองข้อมูลต่างๆให้ดีก่อนนำมาเผยแพร่
เนื้อหาสารสนเทศ
การถ่ายทอดภูมิปัญญากรรมวิธีการปั้นเครื่องปั้นดินเผา
ใช้วิธีการสอนสืบทอดรุ่นสู่รุ่น ปลูกฝังลูกหลานตั้งแต่ยังเยาว์วัย ซึ่งเป็นเครื่องมือทำมาหากินที่เป็นมรดกตกทอดสู่หลัง
การปั้นเครื่องปั้นดินเผาสมัยใหม่มีการนำเทคโนโลยีมาใช้
และมีการพัฒนาเครื่องปั้นหลากหลายรูปแบบเพื่อให้เหมาะกับสังคมปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
การคิดสรรค์สร้างลวดลายที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของเครื่องปั้นดินเผา เกาะเกร็ด
จะทำให้ช่วยให้ดึงดูดความสนใจให้ผู้หันมาชื่นชอบงานศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน
ที่ยังคงรูปทรงที่มีเค้าดั้งเดิมและอนุรักษ์ศิลปะชิ้นนี้สืบต่อไป
ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น
เกาะเกร็ดเป็นที่ที่นักท่องเที่ยวค่อนข้างเยอะ
เวลาในการทำงานก็น้อย อาจทำให้เรามีอุปสรรคในการทำงาน ทำให้เสียเวลาไปค่อนข้างมาก
กว่าจะหาโอกาสสัมภาษณ์เขาได้ ต้องรอให้นักท่องเที่ยวหมดก่อน
และคนเยอะทำให้การถ่ายทำเป็นสิ่งที่ยากเข้าไปอีก
บรรณานุกรม
ทรงพันธ์
วรรณมาศ. เครื่องปั้นดินเผา. พิมพ์ครั้งที่๘. กรุงเทพมหานคร :
คุรุสภาลาดพร้าว, พ.ศ.๒๕๓๐.
ทรงพันธ์
วรรณมาศ. เครื่องปั้นดินเผา.
พิมพ์ครั้งที่๑. กรุงเทพมหานคร :
โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์, พ.ศ.๒๕๓๒.
สุขุมาล
เล็กสวัสดิ์. เครื่องปั้นดินเผา พื้นฐานการออกแบบและปฎิบัติงาน. พิมพ์ครั้งที่๑. กรุงเทพมหานคร :
แอคทีฟ พริ้นท์ จำกัด, พ.ศ.๒๕๔๘.
สมจิต
โยธะคง. การวางผังตกแต่งบริเวณ. พิมพ์ครั้งที่๓. กรุงเทพมหานคร:
อมรการพิมพ์ ถนนเจริญรัตน์ คลองสาน, พ.ศ.๒๕๓๘.
เอื้อมพร
วีสมหมาย. หลักการจัดสวนเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่๓. กรุงเทพมหานคร :
โรงพิมพ์อักษรพิทยา, พ.ศ.๒๕๒๗.
ภาคผนวก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น